ไข้หวัดใหญ่ มีอาการอย่างไร
ก่อนอื่นมักมีคำถามว่าเราจะแยกได้อย่างไรระหว่าง ไข้หวัดใหญ่ กับไข้หวัดธรรมดาทั่วไป นั้นต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาให้
จริงๆ แล้วไข้หวัดใหญ่กับไข้หวัดธรรมดาเป็นโรคคนละโรคกัน ไข้หวัดธรรมดาเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด แต่ว่าไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่าอินฟลูเอาซา (Influenza Virus) ซึ่งไวรัวตัวนี้มีความรุนแรงมากกว่าไวรัสในไข้หวัดทั่วไป การดำเนินโรคของไข้หวัดใหญ่จะรุนเรงและรวดเร็วกว่าไข้หวัดธรรมดา
ซึ่งไข้หวัดใหญ่ทั่วไปการติดเหมือนกับไข้หวัดทั่วไปหรือไม่ ?
การติดต่อของไข้หวัดใหญ่ก็จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดา โดยเวลาคนไข้จามหรือว่าไอ แล้วเราก็หายใจรดเอาเชื้อโรคจากคนไข้เข้าไปก็จะติดต่อเข้ามาสู่ตัวเรา หรือว่าเกิดจากการที่เราไปสัมผัสสารคัดหลั่งที่เป็นโรคก็ทำให้เราติดเชื้อได้ ก็คล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดา
อาการเบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่ จะคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดา ก็อาจจะมีไข้ ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ไอมีเสมหะ แต่ข้อแตกต่างกันคือว่าแพทเทิร์นของไข้ ไข้หวัดใหญ่จะมีไข้สูง (ประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส) ปวดศีรษะค่อนข้างมาก ปวดเมื่อยตามตัวแบบรุนแรง เบื่ออาหารค่อนข้างเยอะ และที่แตกต่างกันอีกอย่างคือ ไข้หวัดใหญ่จะมีผลภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้มากกว่า เช่นภาวะปอดบวม หูชั้นในอักเสบ ซึ่งไข้หวัดธรรมดามักจะไม่เกิด ไข้หวัดใหญ่จะมาในช่วงเข้าสู่ฤดูฝน หรือว่าต้นฤดูหนาว ซึ่งเป็นแพทยเทิร์นของไวรัส
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ หลักการแรกก็คือเหมือนไข้หวัดธรรมดา คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ไม่ไปคลุกคลีไม่ไปใกล้ชิด ถ้ามีความจำเป็นต้องไปสัมผัสผู้ป่วย แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย แล้วก็ล้างมือบ่อยๆ แต่ในกรณีที่เป็นช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด เราไม่ทราบว่าใครเป็นใครไม่เป็นก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในหมู่ฝูงชน หรือถ้าจำเป็นต้องเข้าไปในฝูงชนหรือว่าที่เราไปอากาศไม่ดี แนะนำใหหใส่หน้ากากอนามัย หรือถ้าเกิดว่าในกลุ่มคนไข้ที่สูงอายุมากกว่า 65 ปี กับในกลุ่มเด็กเล็กที่มีความเสี่ยงก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อัตราการป้องกันได้ถึง 70-80% แต่ว่าต้องฉีดทุกปี เพราะว่าสายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่สามารถเปลี่ยนได้ ก็จะมีการอัพเดตวัคซีนทุกปี แต่ไม่ใช่ว่าฉีดวัคซีนไปแล้วจะป้องกันได้ 100% สามารถป้องกันได้ 70-80% แต่ถ้าหากว่ามีการติดอาการก็จะไม่รุนแรงมาก
การดูแลตัวเองเมื่อมีไข้ แปวดหัว ตัวร้อน แนะนำให้รักษาตามอาการ ถ้าเกิดมีไข้ให้ทานยาลดไข้ได้ เช็ดตัว ดื่มน้ำให้เพียงพอ หากมีอาการปวดเมื่อย ให้เลี่ยงการทำงานหนักหรือออกแรงมากๆ พยายามพักผ่อนให้มาก ในช่วงป่วยก็ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ อาการจะเป็นประมาณ 7-14 วัน หากใครที่ไม่แน่ใจก็ควรไปพบแพทย์จะดีที่สุด